p13-1
POWER DRIVE : พัฒนาวงสวิงให้ถูกทาง
พฤษภาคม 2, 2015
การแก้ไขลูกฮุคและลูกดันขวา PUSH HOOK AND PUSH
POWER DRIVE : การแก้ไขลูกฮุคและลูกดันขวา (PUSH HOOK AND PUSH)
พฤษภาคม 24, 2015
Show all

POWER DRIVE : การแก้ไขลูกสไลซ์-ลูกรวบซ้าย (SLICE AND PULL)

p25-1

การแก้ไขลูกสไลซ์-ลูกรวบซ้าย (SLICE AND PULL)

อาการ

– ตีลูกพุ่งไปทางด้านซ้ายของเป้าหมายแล้วเลี้ยวโด่งออกทางด้านขวาตกหยุดไม่ได้ระยะ
– ตีลูกรวบตรงๆ ไปทางซ้ายของเป้าหมาย
– ตีลอดใต้ลูกถูกที่ขอบบนของหัวไม้ ลูกลอยโด่งมาก ตกหยุดได้ระยะสั้นมาก และมีรอยถลอกที่ขอบหน้าด้านบนของหัวไม้
– ตีลูกท๊อปเลียดพื้นไปทางด้านซ้ายของเป้าหมาย

สาเหตุ

แนว การสวิงของหัวไม้ที่สวิงคร่อมจากด้านนอกเข้าด้านในเส้าเป้าหมาย (OUT-TO-IN) คือต้นเหตุของการตีลูกสไลซ์และลูกรวบซ้าย ส่วนลูกจะพุ่งตรงไปทางซ้าย หรือเลี้ยวไปทางขวานั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหน้าไม้ขณะกระทบลูก

 

หากหน้าไม้อยู่ในตำแหน่งเปิดกับแนวการสวิง ลูกที่ตีจะพุ่งไปทางซ้ายของเป้าหมายแล้วเลี้ยวออกทางด้านขวา (รูป 1)

หาก หน้าไม้อยู่ในตำแหน่งสแควร์กับแนวการสวิง ลูกที่ตีจะพุ่งตรงไปทางด้านซ้ายของเป้าหมาย (รูป 2) และหากหน้าไม้อยู่ในตำแหน่งปิดกับแนวการสวิง ลูกที่ตีจะพุ่งไปทางด้านซ้ายของเป้าหมายแล้วเลี้ยวหักเข้าด้านซ้ายมากขึ้น แต่อาการนี้จะเกิดขึ้นได้ยาก เพราะนักกอล์ฟที่มีปัญหาตีลูกสไลซ์ ส่วนใหญ่จะเป็นนักกอล์ฟแฮนดิแคป 2 ตัว หรือนักกอล์ฟมือใหม่ที่ไม่มีความชำนาญในการพลิกมือและแขนเพื่อปิดหน้าไม้ และการสวิงไม้ด้วยแนวคร่อมในมุมชันลงหาลูกจะส่งผลให้แขนซ้ายชัดขึ้นทำให้ยาก ต่อการปิดหน้าไม้ผ่านจุดกระทบ

เนื่องจากการสวิงไม้ในแนวคร่อมจากด้าน นอกเข้าด้านในเส้าเป้าหมาย จะมีผลข้างเคียงให้หัวไม้กอล์ฟสวิงลงหาลูกกอล์ฟในมุมชัน จึงมีโอกาสตีลอดลูก และทำให้สูญเสียพลังการตี เนื่องจากพลังการตีถูกถ่ายทอดในมุมสับลงหาลูกกอล์ฟ แทนการตีในมุมกวาดอัดลูกไปข้างหน้า อีกทั้งการตีลูกด้วยหน้าไม้ที่อยู่ในตำแหน่งเปิด แสดงว่าแขนและมืออยู่ในอาการเกร็งทำให้หน้าไม้ไม่พลิกผ่านจุดกระทบเป็นเหตุ ให้ขาดสปิดจนตีลูกได้ระยะสั้นมาก

นอกจากนั้นการสวิงหัวไม้คร่อมจาก ด้านนอกเข้าด้านในเส้นเป้าหมายยังทำให้มีโอกาสตีถูกโคนไม้ ตีลูกพุ่งออกจากหน้าไปทางซ้ายแล้วเลี้ยวบานออกขวาหนักกว่าเดิม

แนวทางในการแก้ไข

แนว ทางในการแก้ไขลูกสไลว์และลูกรวบซ้ายคือ การแก้ไขแนวการสวิงของหัวไม้ที่คร่อมจากด้านนอกเข้าด้านในเส้นเป้าหมาย (OUT-TO-IN) ให้กลายมาเป็นแนวสแควร์ (IN-TO-IN) จากด้านในเส้นเป้าหมาย ซึ่งจะมีผลข้างเคียงให้หัวไม้กอล์ฟสวิงเข้าหาลูกกอล์ฟในแนวกวาดได้ดีขึ้นตาม ธรรมชาติ หลังจากนั้นจึงทำการแก้ไขให้ตีถูกกลางหน้าไม้ด้วยหน้าไม้ที่อยู่ในตำแห น่งสแควร์เพื่อตีลูกให้ตรงเข้าหาเป้าหมาย

 

ขั้นตอนการแก้ไข

1 จับกริพให้เป็นกลางค่อนไปทางสตรอง

การจัดวีคกริพ (WEAK)

การจัดวีคกริพ (WEAK) คือ จุดเริ่มต้นของการตีลูกสไลซ์ หากท่านจับวีคกริพโดยเห็นข้อนิ้วบนมือซ้าย 1 ถึง 2 ข้อ กริพมือขวาอยู่ในตำแหน่งคว่ำ รูปตัว “V” ชี้ตรงหน้าหรือชี้ไปทางซ้าย (รูป 1) เมือสวิงมือกลับมากระทบลูกในตำแหน่งที่เป็นกลาง โดยเห็นข้อนิ้วบนหลังมือซ้าย 2 1/2 ข้อ หน้าไม้จะอยู่ในตำแหน่งเปิด และตีลูกเลี้ยวออกด้านขวา (รูป 2) นอกจากนั้นการจับวีคกริพยังมีผลทำให้ยกแขนขึ้นในมุมชันและสวิงไม้ลงหาลูก กอล์ฟจากด้านนอกเข้าด้านในเส้าเป้าหมาย (OUT-TO-IN)
ดังนั้นการจับกริพให้ถูกต้องเหมาะสมคือ ปัจจัยสำคัญอันยิ่งยวดของการแก้ไขลูกสไลซ์ให้ประสบความสำเร็จ

เพื่อแก้ไขอาการตีลูกสไลส์ ขอให้เริ่มต้นด้วยการจับกริพให้ค่อนไปทางสตรองโดยจับกริพมือซ้ายให้คว่ำจน เห็นข้อมือบนหลังมือซ้ายเต็มๆ 3 ข้อ จับกริพมือขวาให้ฝ่ามือหง่ายเข้าหาฝ่ามือซ้ายเหมือนท่าปรบมือ รูปตัว “V” กลับหัวที่โคนนิ้วชี้และโคนนิ้วโป้งของมือทั้งสองข้างชี้ไปที่ด้านในไหล่ขวา การจับกริพให้เป็นกลางค่อนไปทางสตรอง นอกจากจะช่วยให้มือและแขนสามารถพลิกหน้าไม้ให้กลับมากระทบลูกในตำแห น่งสแควร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังจะช่วยให้มือและแขนสวิงไม้ให้เข้าร่องเข้ารอยส่งผลให้สามารถสวิงไม้กลับ เข้าหาลูกกอล์ฟจากด้านในเส้นเป้าหมายได้อีกแรง

หมายเหตุ

นักกอล์ฟส่วนใหญ่มักขยับมือกลับไปจับกริพแบบเดิมที่เคยถนัดโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นจึงขอให้ก้มลงตรวจสอบกริพให้ถูกต้องอีกครั้งก่อนลากไม้ขึ้นให้เป็น กิจวัตร

 

2 ปักทีให้สูงขึ้น

นัก กอล์ฟที่มีปัญหาตีลูกสไลซ์เนื่องจากการสวิงไม้คร่อมจากด้านนอกเข้าด้านใน เส้าเป้าหมายมักปักทีให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อป้องกันไม่ให้หัวไม้สวิงลอดลง ใต้ลูก (รูป 1) ดังนั้นจึงขอให้ทำในทางตรงข้ามด้วยการปักทีให้สูงขึ้นโดยปักทีให้ 2/3 ส่วนของลูกกอล์ฟอยู่เหนือส่วนบนของหัวไม้ (รูป 2) เพื่อเป็นการบังคับให้ต้องพยายามสวิงหัวไม้เข้าหาลูกกอล์ฟในมุมกวาด หรือมุมเสยขึ้นเล็กน้อย การปักทีให้สูงยังเป็นเครื่องมือตรวจสอบแนวการสวิงได้เป็นอย่างดี เพราะหากท่านสวิงหัวไม้ด้วยแนวคร่อมลงหาลูกกอล์ฟในมุมชัน หัวไม้จะตีลูกที่ส่วนบนของหน้าไม้ หรือตีลอดใต้ลูก ซื้อจำเป็นต้องกลับไปแก้ไขในเรื่องของแนวการสวิงให้ถูกต้อง

 

3 ยืนปิด ลูกค่อนขวา ทิ้งน้ำหนัก 60 เปอร์เซ็นต์บนเท้าขวา

ยืน ให้แนวของเส้นที่ลากผ่านปลายเท้าและแนวของไหล่ปิดไปทางด้านขวาของเป้าหมาย ราว 1 นาฬิกา (รูป 1) ตำแหน่งของลูกกอล์ฟอยู่ตรงกับจุดที่ห่างจากสันเท้าซ้าย 2 นิ้ว เท้ากว้างด้านนอกไหล่ เอียงลำตัวช่วงบนให้น้ำหนัก 60 เปอร์เซ็นต์ ตกลงบนเท้าขวา (รูป 2)
การยืนจดลูกแบบนี้เป็นการชดเชยให้หัวไม้มีโอกาสสวิงจากด้านในเส้นเป้าหมาย ด้วยแนวสแควร์ในมุมกวาด เข้าหาลูกกอล์ฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

4 ซ้อมสวิงลม

สวิงดันจากด้านใน-ปิดหน้าไม้ผ่านจุดกระทบ

หลัง จากการเตรียมตัวอย่างถูกต้องแล้ว ให้วางที่ครอบหัวไม้ที่ด้านหลังลูกกอล์ฟราว 6 นิ้ว และห่างจากปลายไม้ราว 1/2 นิ้ว (รูป 1) แล้วซ้อมสวิงลมด้วยการทำให้เกินไปในทางตรงกันข้ามด้วยการสวิงหัวไม้ให้ดัน จากด้านในออกด้านนอกเส้นเป้าหมาย (โดยไม่ให้โดนที่ครอบหัวไม้) พร้อมกับปิดหน้าไม้ผ่านจุดกระทบเพื่อตีลูกให้พุ่งออกทางด้านขวาของเป้าหมาย แล้วม้วนกลับเข้าทางด้านซ้ายเหมือนการตีลูกให้ฮุค (รูป 2) เป็นการทำให้เกินเพื่อหวังให้เป็นการบวกลบกับข้อผิดพลาดเดิมคือ การสวิงไม้คร่อมจากด้านนอกเข้าด้านในเส้นเป้าหมายเข้ากระทบลูกด้วยหน้าไม้ ที่อยู่ในตำแหน่งเปิด ตีลูกพุ่งไปทางด้านซ้ายแล้วเลี้ยวออกขวา

หากท่านสามารถสวิงลมโดยไม่โดนที่ครอบหัวไม้ แสดงว่าท่านได้สวิงหัวไม้กอล์ฟจากด้านในเส้นเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง

 

5 ตีลูก

 

หลัง จากที่ได้เตรียมตัวและฝึกซ้อมสวิงลมได้อย่างถูกต้องแล้ว อันดับต่อไปคือ การทดลองตีลูกโดยก่อนการตีลูกขอให้ซ้อมสวิงลม (ด้วยความรู้สึกเหมือนตีลูกให้ฮุค) 1-2 ครั้ง เพื่อเป็นการทบทวนความรู้สึก
หากลูกที่ตีพุ่งตรงเข้าหาเป้าหายในช่วงแรกแต่ยังเลี้ยวออกขวาในช่วงปลาย ขึ้นตอนต่อมาก็คือ การตรวจสอบว่าท่านตีถูกกลางหน้าไม้หรือไม่

 

6 ตีให้ถูกกลางหน้าไม้

 

หาก ท่านสามารถสวิงหัวไม้ลงมาตีลูกโดยไม่โดนที่ครอบหัวไม้ และลูกที่ตีพุ่งตรงเข้าหาเป้าหมายในช่วง 100 หลาแรก แสดงว่าท่านได้แก้ไขแนวการสวิงที่คร่อมจากด้านนอกเข้าด้านในเส้นเป้าหมาย ซึ่งเป็นต้นเหตุของการตีลูกสไลซ์ได้ถูกทางแล้ว แต่การที่ลูกยังเลี้ยวออกขวาอาจเป็นเพราะท่านตีโดนที่โคนไม้ หรือไม่ก็ตีลูกด้วยหน้าไม้ที่อยู่ในตำแหน่งเปิดที่จุดกระทบ

ตามที่ได้ กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าเราจำเป็นต้องตีให้ถูกกลางหน้าไม้ก่อนการปรับหน้าไม้ ให้สแควร์ ดังนั้นจึงขอให้ตรวจสอบว่าท่านตีถูกที่กลางหน้าไม้หรือไม่ด้วยการดูจากรอย ที่ลูกกระทบหน้าไม้ หากมองเห็นร้อยไม่ชัดให้ใช้เทปแปะที่หน้าไม้ หรือใช้แป้งทาที่หน้าไม้ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นรอยกระทบได้อย่างชัดเจน และหากพบว่าท่านตีโดนโคนไม้ซึ่งเป็นสาเหตุให้ตีลูกพุ่งไปทางซ้ายแล้วเลี้ยว ออกทางขวา ขอให้ถอยห่างให้ลูกอยู่ค่อนไปที่ปลายไม้ให้มากขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถหาตำแหน่งของการยืนจดหัวไม้ที่ทำให้ตีถูกกลางหน้าไม้พอดี และนั่นคือตำแหน่งของการจดหัวไม้ที่เหมาะสมกับวงสวิงของท่าน

หากท่าน สวิงหัวไม้ในแนวที่ถูกต้องเข้าตีลูกที่กลางหน้าไม้ แต่ลูกที่ตียังคงเลี้ยวออกขวา แสดงว่าหน้าไม้อยู่ในตำแหน่งเปิดขณะกระทบลูก ดังนั้นขั้นตอนต่อไปคือการปิดหน้าไม้ให้กลับมากระทบลูกในตำแหน่งสแควร์ตาม แบบฝึกหัดต่อไปนี้

 

7 ปิดหน้าไม้ผ่านจุดกระทบ

 

แบบฝึกหัดที่ 1 ศอกซ้ายชี้เข้าใน

การ สวิงไม้ลงหาลูกกอล์ฟจากด้านนอกเข้าด้านในเส้นเป้าหมาย จะส่งผลต่อเนื่องให้แขนซ้ายชักผ่านจุดกระทบ พาหัวไม้กอล์ฟสวิงเข้ากระทบลูกในตำแหน่งเปิด (รูป 1) และตีลูกเลี้ยวออกด้านขวา เพื่อแก้ไขอาการนี้ขอให้ฝึกซ้อมสวิงลมโดย

1 ขึ้นไม้ตามปกติ
2 สวิงไม้ผ่านจุดกระทบมาจบ 3/4 วงสวิงโดยตั้งใจให้ปลายข้อศอกซ้าชี้ลงพื้นด้วยแขนขวาที่เหยียดตรง (รูป 2)
3 เมื่อซ้อมสวิงลมจนเกิดความชำนาญ ให้ตีลูกจริงด้วยความรู้สึกเดียวกันไปจนจบวงสวิง

การจบ 3/4 วงสวิงด้วยศอกซ้ายที่ชี้เข้าด้านในจะแก้ไขอาการศอกซ้ายชัดผ่านจุดกระทบ และจะทำให้ท่อนแขนซ้ายหมุนพลิกพาหน้าไม้กลับมากระทบลูกในตำแหน่งสแควร์ด้วย อาการผ่อนคลายได้อย่างเป็นธรรมชาติ

 

แบบฝึกหัดที่ 2 ชิพให้ฮุค

เพื่อเรียนรู้การพลิกมือและแขนให้หน้าไม้สวิงกลับมากระทบลูกในตำแหน่งสแควร์ได้ทันเวลาขอให้

1 ยืนจดลูกด้วยท่าปกติ
2 ขึ้นไม้ 1/3 วงสวิง แค่ให้ก้านไม้ขนานกับพื้น (รูป 1)
3 ชิพลูกเบาๆ ด้วยการพลิกแขนเพื่อปิดหน้าไม้ตีลูกให้เลี้ยวหักเข้าด้านซ้ายให้มากที่สุด (รูป 2)
4 เมื่อสามารถชิพลูกให้เลี้ยวหักเข้าด้านซ้ายติดๆกัน3ลูก ให้ตีเต็มวงด้วยความรู้สึกเดียวกันไปจนจบวงสวิง

หาก ทำทั้งสองแบบฝึกหัดข้างต้นแล้วปรากฏว่าตีลูกเลี้ยวเข้าด้านซ้ายได้อย่างสม่ำ เสมอ แสดงว่าท่านได้เรียนรู้การเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้องแล้ว แต่ได้ปิดหน้าไม้เร็วและมากเกินไป สิ่งที่ต้องทำหลังจากนั้นคือ การปรับไทมิ่งของการปิดหน้าไม้ให้ช้าลงจนสามารถตีลูกตรงเข้าหาเป้าหมาย

 

สรุปย่อ

เซท-อัพ

1 ปักทีให้ 2/3 ส่วนของลูกกอล์ฟอยู่เหนือสันบนของหัวไม้กอล์ฟ
2 จดลูกที่ปลายไม้ หรือยกหัวไม้ขึ้นให้ลูกกอล์ฟอยู่กลางหน้าไม้ (ดูหน้า 22 “การจดหัวไม้/มีอิทธิผลต่อการตีให้ถูกกลางหน้าไม้”)
3 จับกริพให้เป็นกลางค่อนไปทางสตรอง (ดูหน้า 26 “ข้อ 1 จับกริพให้เป็นกลางค่อนไปทางสตรอง”)
4 ยืนปิดราว 1 นาฬิกา
5 เท้ากว้างด้านนอกไหล่
6 ทิ้งน้ำหนัก 60 เปอร์เซ็นต์ ลงบนเท้าขวา
7 ลูกกอล์ฟอยู่ตรงกับจุดที่ห่างจากส้นเท้าซ้าย 2 นิ้ว

สวิง

1 วางที่ครอบหัวไม้ด้านหลังลูกกอล์ฟ 6 นิ้วและห่างจากปลายไม้ 1/2 นิ้ว (ดูหน้า 29 – ข้อ 4 ซ้อมสวิงลม/สวิงดันจากด้านใน-ปิดหน้าไม้ผ่านจุดกระทบ)
2 ซ้อมสวิงลมด้วยความรู้สึกของการสวิงหัวไม้ให้ดันจากด้านในออกด้านนอกเส้าเป้าหมายผ่านที่ครอบหัวไม้ และปิดหน้าไม้ผ่านจุดกระทบ
3 ตีลูก หากสวิงไม่โดนที่ครอบหัวไม้แต่ลูกที่ตียังเลี้ยวออกขวา ให้ตรวจสอบว่าตีถูกที่โคนไม้หรือไม่ (ดูหน้า 30 – ข้อ 5 ตีลูก) หากพบว่าตีถูกที่โคนไม้ ให้ยืนถอยห่างให้ลูกอยู่ค่อนไปทางปลายไม้ให้มากขึ้นเรื่อยๆจนตีถูกกลางหน้าไม้
4 หากตีถูกกลางหน้าไม้แล้วลูกยังเลี้ยวขวา ให้ฝึกปิดหน้าไม้ให้เร็วขึ้นโดยทำแบบฝึกหัด ศอกซ้ายชี้เข้าใน (หน้า 31 – แบบฝึกหัดที่ 1 ศอกซ้ายชี้เข้าใน) หรือแบบฝึกหัด ชิพให้ฮุค (หน้า 32 – แบบฝึกหัด ชิพให้ฮุค)

Comments

comments

สิทธิศักดิ์ นันทเทิม
สิทธิศักดิ์ นันทเทิม
// พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ การสอน THAI INTERNATIONAL GOLF TEACHING ACADEMY // พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งบรรณาธิการด้านเทคนิค หนังสือพิมพ์ GOLF TIME